วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทักษะการสรุปบทเรียน


ทักษะการสรุปบทเรียน

สมาชิกกลุ่ม

นางสาวปรียาฉัตร  พูลเพิ่ม
รหัส 51125260105
สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา

นางสาวเจษฏาภรณ์  สมใจ
รหัส 51125260106
สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา

นายอานัฒิ  สายบุปผา
รหัส 51125260113
สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา

นายประณต  อินทร์สลุง
รหัส 51125260120
สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา


นางสาวฐิตาภรณ์  คงคามี
รหัส 51125260125
สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา

นางสาวสุรีรัตน์  แจ้งอิ่ม
รหัส 51125260135
สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา

เนื้อหาทักษะการสรุปบทเรียน

ทักษะการสรุปบทเรียน
                    ทักษะการสรุปบทเรียน หมายถึง การที่ผู้สอนพยายามทำให้ผู้เรียนสามารถรวมความคิด ความเข้าใจของตนเองได้ถูกต้องครบถ้วน ซึ่งอาจเป็นการรวมหรือสรุปบทเรียน หรือข้อเท็จจริง หรือแนวความคิดสำคัญๆจากประสบการณ์ในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง แล้วสามารถนำความรู้ไปสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ หรือนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ จากที่ได้กล่าวมา การสรุปบทเรียน เป็นการสรุปความคิดรวบยอด และสาระสำคัญของบทเรียน

ความสำคัญของการสรุปบทเรียน
                    1. เมื่อผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระสำคัญของบทเรียนมาแล้ว ความคิด ความเข้าใจยังกระจัดกระจาย หรือมีความสับสน การสรุปบทเรียนจะช่วยรวบรวมความคิด ความเข้าใจให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง จนเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้อง
                    2. เนื้อหาสาระในบทเรียนมักมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันทั้งภายในเรื่องเดียวกัน และเรื่องอื่นๆ ดังนั้นการสรุปบทเรียนในลักษณะโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของหัวข้อต่างๆ ภายในเรื่องเดียวกัน หรือระหว่างบทเรียนเก่ากับใหม่ จะช่วยให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องอย่างชัดเจน
                    3. จุดมุ่งหมายของการศึกษาหาความรู้อยู่ที่การสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การสรุปบทเรียนจะช่วยชี้นำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้

วิธีการสรุปบทเรียน
                    โดยเป็นการให้ผู้สอนได้ใช้วิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการสรุปบทเรียน วิธีการสรุปบทเรียนสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
                    1. สรุปจากการตั้งคำถาม โดยการซักถามให้นักเรียนสรุปรวบรวมโดยใช้ภาษาของนักเรียนเอง
                    2. สรุปจากการใช้อุปกรณ์  คือ ใช้อุปกรณ์เป็นสื่อเพื่อให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนไปแล้ว
                    3. สรุปจากประสบการณ์ เช่น การสังเกต การทดลอง การสาธิต ฯลฯ
                    4. สรุปจากการสร้างสถานการณ์ขึ้น โดยครูสร้างสถานการณ์ขึ้น และให้นักเรียนสรุปจากสถานการณ์ที่ครูสร้างขึ้น ซึ่งสถานการณ์นั้นๆอาจจะเหมือนกับสถานการณ์การเรียนที่ผ่านไปหรืออาจใช้สถานการณ์ใหม่ก็ได้
                    5. สรุปโดยการบรรยาย เป็นวิธีการสรุปง่ายๆที่ผู้สอนเป็นผู้สรุปความคิดรวบยอด หรือสาระสำคัญของบทเรียนให้ผู้เรียนฟัง โดยผู้ว่า เรื่องนี้สรุปได้ว่า..............
                    6. สรุปจากการใช้กิจกรรม อาจให้นักเรียนสังเกตการณ์สาธิตและการทดลอง และสรุปสาระสำคัญของเรื่องนั้นๆ

ข้อเสนอแนะในการสรุปบทเรียน
                    1. การสรุปบทเรียนสามารถสรุปได้ทุกระยะ คือเมื่อสอนจบหัวข้อ จบตอน จบเรื่อง หรือเมื่อจบบทเรียน ในการสอนและครั้งผู้สอนอาจจะสรุปบทเรียนเป็นระยะๆ แล้วสรุปรวมตอนท้ายอีกครั้ง จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและสามารถติดตามบทเรียนได้โดยตลอด ถ้าไม่เข้าใจตอนใดก็สามารถแก้ไขได้ทันทีก่อนที่จะเรียนต่อไปจะช่วยให้การเรียนราบรื่นไปตลอด ดีกว่าที่ผู้สอนจะสรุปเมื่อจบบทเรียนครั้งเดียว
                    2. สรุปบทเรียนให้ครอบคลุมสาระสำคัญครบถ้วนและสรุปได้ชัดเจน ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ สามมารถสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน และนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้
                    3. ผู้สอนพยายามให้ผู้เรียนสรุปด้วยตอนเองก่อน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความเข้าใจถูกต้องหรือไม่ แล้วผู้สอนช่วยแก้ไขและส่งเสริมให้ถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วน โดยให้สรุปเป็นรายบุคคล หรือแบ่งกลุ่มช่วยกันสรุป
                    4. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุป โดยผู้สอนเป็นผู้ถามแล้วให้ผู้เรียนตอบจนสามารถได้สาระสำคัญครบถ้วน
                    5. ผู้สอนเป็นผู้สรุป ซึ่งควรจะทำเมื่อใช้วิธีให้ผู้เรียนสรุป หรือผู้สอนกับผู้เรียนช่วยกันสรุปมาแล้ว หรือเมื่อบทเรียนนั้นยากและสลับซับซ้อน หรือเมื่อต้องการจะโยงให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบทเรียนที่เรียนไปแล้วกีบบทเรียนใหม่ หรือจะโยงให้เห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องของหัวข้อต่างๆในบทเรียนเดียวกัน
                    6. การสรุปต้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่นักเรียน เรียนรู้แล้ว ไปสู่สิ่งที่นักเรียนยังไม่รู้
                    7. การสรุปบทเรียนที่ดี ควรสรุปเพื่อเป็นการแนะแนวสำหรับการเรียนในบทเรียนต่อไปด้วย

                    วิธีที่จะช่วยผู้สอนประเมินความสามารถของผู้เรียนว่าผู้เรียนสามารถสรุปบทเรียนได้ถูกต้องหรือไม่ และสามารถสัมพันธ์ความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกันได้ดีแค่ไหน อาจทำได้ดังนี้
                    1. โดยทบทวนสิ่งที่นักเรียนได้เรียนมาแล้วตามลำดับ จนถึงบทเรียนที่จะเรียนใหม่
                    2. โดยการสังเกตความสามารถของนักเรียน ในการนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนบทเรียนนั้นๆ มาประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เดิม
                    3. โดยการสังเกตความสามารถของนักเรียน ในการนำความรู้ต่างๆมาใช้สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ได้


อ้างอิง
ลัดดาวัลย์ พิชญพจน์(2537). ทักษะและเทคนิคการสอน Skills and Techingues of Teaching
เฉลิมศรี ทองแสง(2538). ทักษะและเทคนิคการสอน.ลพบุรี. สถาบันราชภัฎเทพสตรี. พิมพ์ครั้งที่ 2
ประทุม ศรีรักษา(2547). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการสอน. ลพบุรี. สถาบันราชภัฎเทพสตรี
วีระ มหาวิจิตร. ทักษะและเทคนิคการสอน.ลพบุรี. สถาบันราชภัฎเทพสตรี

 
วีดีโอทักษะการสรุปบทเรียน